วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเภทกาแล๊กซี่



กาแล็กซีประเภทต่างๆ

   กาแล็กซีมีรูปทรงแตกต่างกันหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ 
ได้ 2 ประเภทคือ 
  1.กาแล็กซีปกติ (Regular galaxy) ที่มีสัณฐานรูปทรงชัดเจนสามารถ
แบ่งได้ตามแผนภาพส้อมเสียง (Hubble Turning Fork) ตามที่แสดงใน
ภาพที่   
  2.กาแล็กซีไม่มีรูปแบบ (Irregular Galaxy) ที่ไม่มีรูปทรงสัณฐาน
ชัดเลย เช่น เมฆแมกเจลแลนใหญ่ เมฆแมกเจลแลนเล็ก ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวาร
ของทางช้างเผือก


ภาพที่ 1 แผนภาพส้อมเสียงกาแล็กซีของฮับเบิล
      
    ต้นคริสศตวรรษที่ 20 เอ็ดวิน ฮับเบิล(Edwin Hubble)
นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ทำการศึกษากาแล็กซีด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่
และจำแนกประเภทของกาแล็กซีตามรูปทรงสัณฐานออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
  1. กาแล็กซีรี (Elliptical Galaxy) มีสัณฐานเป็นทรงรี แบ่งย่อยได้ 
    8 แบบ ตั้งแต่ E0 - E7 โดย E0 มีความรีน้อยที่สุด และ E7 มีความ
    รีมากที่สุด  
  2. กาแล็กซีกังหัน (Spiral Galaxy) แบ่งย่อยเป็น 3 แบบ กาแล็กซี
    กังหัน  Sa มีส่วนป่องหนาแน่นแขนไม่ชัดเจน, กาแล็กซีกังหัน Sb 
    มีส่วนป่องใหญ่ แขนยาวปานกลาง,กาแล็กซีกังหัน Sc มีส่วนป่องเล็ก
    แขนยาวหนาแน่น 
  3. กาแล็กซีกังหันแบบมีคาน หรือ กาแล็กซีกังหันบาร์ (Barred 
    Spiral Galaxy) แบ่งย่อยเป็น แบบ  กาแล็กซีกังหันบาร์ SBa 
    มีส่วนป่องใหญ่ไม่เห็นคานไม่ชัดเจน, กาแล็กซีกังหันบาร์ SBb มีส่วน
    ป่องขนาดกลาง เห็นคานได้ชัดเจน, กาแล็กซีกังหันบาร์ SBc มีส่วนป่อง
    เล็กมองเห็นคานยาวชัดเจน
  4. กาแล็กซีลูกสะบ้า หรือ กาแล็กซีเลนส์ (Lenticular Galaxy) 
    เป็นกาแล็กซีที่ไม่มีลักษณะก้ำกึ่ระหว่างกาแล็กซีรีและกาแล็กซีกังหันกล่าวคือ
    ส่วนโป่งขนาดใหญ่และไม่มีแขนกังหัน(แบบS0หรือSB0) 
ภาพที่ 2 กาแล็กซีกังหันประกอบด้วยดาวที่มีอุณหภูมิสูง (สีน้ำเงิน)

        นักดาราศาสตร์พบว่า กาแล็กซีส่วนใหญ่ที่พบร้อยละ 77 เป็นกาแล็กซี
แบบกังหันและกังหันบาร์ มีขนาดใหญ่ องค์ประกอบหลักเป็นประชากรดาว
ประเภทหนึ่ง(Population I มีธาตุหนักเกิดจากซูเปอร์โนวา สว่างมาก
อุณหภูมิสูง)ซึ่งมีอายุน้อยกาแล็กซีจึงมีสีน้ำเงินดังภาพที่ 2 กาแล็กซีร้อยละ 20 เป็นกาแล็กซีรี มีขนาดใหญ่ องค์ประกอบหลักเป็นประชากรดาวประเภทสอง (Population II ไม่มีธาตุหนัก สว่างน้อย อุณหภูมิต่ำ) ซึ่งมีอายุมากและไม่มีดาวเกิดใหม่ กาแล็กซีจึงมีแดงดังภาพที่ 3 ส่วนที่เหลือร้อยละ เป็นกาแล็กซีไม่มีรูปแบบ มีขนาดเล็กและกำลังส่องสว่างน้อย มีประชากรดาวประเภทหนึ่ง




ภาพที่ 3 กาแล็กซีรีประกอบด้วยดาวที่มีอุณหภูมิต่ำ (สีแดง)
        การแบ่งประเภทของกาแล็กซีในแผนภาพส้อมเสียงของฮับเบิล เป็นการแบ่งตามรูปทรงสัณฐานที่มองเห็นจากโลกเท่านั้น กาแล็กซีแต่ละประเภทมิได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในเชิงลำดับ  อย่างไรก็ตามนักดาราศาสตร์ในยุคปัจจุบันเชื่อว่า กาแล็กซีรีเกิดจากการรวมตัวของกาแล็กซีกังหันเพราะประชากรดาวในกาแล็กซีกังหันมีอายุน้อยกว่าในกาแล็กซีรี  สมบัติของกาแล็กซีทั้งสามประเภทแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สมบัติของกาแล็กซีประเภทต่างๆ 

 สมบัติ กาแล็กซีกังหันและกังหันมีคาน กาแล็กซีรี กาแล็กซีไม่มีรูปแบบ
มวล(เท่าของดวงอาทิย์)109 ถึง 4 x 1011 105 ถึง 1013 108 ถึง 3 x 1010
 กำลังส่องสว่าง(เท่าของดวงอาทิย์) 108 ถึง 4 x 1010 3 x 105 ถึง 1011 107 ถึง 109
 เส้นผ่านศูนย์กลาง(กิโลพาร์เซก) 5 ถึง 250 กิโลพาร์เซก 1 ถึง 200 กิโลพาร์เซก 1 ถึง 10 กิโลพาร์เซก
 ประชากรดาวแขนกังหัน: Population Iนิวเคลียสและจาน: Population II Population IIดาวฤกษ์อุณหภูมิต่ำอายุมาก ไม่มีโลหะ
 Population I ดาวฤกษ์อุณหภูมิสูง อายุน้อย มีโลหะ 
 ร้อยละที่สำรวจพบ

 77%

 20%

 3%


        หลักฐานที่สนับสนุนสมมติฐานที่ว่ากาแล็กซีรีเกิดจากการรวมตัวของกาแล็กซีกังหันคือ นักดาราศาสตร์พบว่า สเปกตรัมของ
กาแล็กซีแอนโดรมีดามีปรากฎการณ์การเลื่อนทางน้ำเงิน (Blueshift) ซึ่งแสดงว่า กำลังเคลื่อนเข้าชนกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราในอีก พันล้านปีข้างหน้า เมื่อกาแล็กซีชนกันจะไม่ทำให้เกิดการระเบิดรุนแรงแต่อย่างไร ทั้งนี้เนื่องจากกาแล็กซีมีความหนาแน่นต่ำมาก โอกาสที่ดาวในแต่ละกาแล็กซีจะชนกันจึงมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามแรงโน้มถ่วงของแต่ละกาแล็กซีมีอิทธิพลต่อกันและกัน ซึ่งจะทำให้รูปทรงของกาแล็กซีทั้งสองเปลี่ยนไป หรือยุบรวมกันเป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น กาแล็กซีกังหัน NGC 4038 และ NGC 4039 ยุบรวมกัน ทำให้เกิดกาแล็กรูปเสาอากาศ (Antennae) ในภาพที่ 4 


ภาพที่ 4 กาแล็กซีNGC 4038 กำลังยุบรวมกับ NGC 4039

ที่มา : http://www.lesa.biz/astronomy/galaxy/galaxies

The moon


ที่มา : http://th.wikipedia.org
ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก จัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน[nb 1] เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ ซึ่งจะซ้ำรอบทุกๆ ช่วง 29.5 วัน[nb 2] (เรียกว่า คาบไซโนดิก)
เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร[1] หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์มีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นผิวของโลก (ประมาณ 1 ใน 4 ของผืนทวีปของโลกเท่านั้น คิดเป็นขนาดใหญ่ประมาณรัสเซีย แคนาดา กับสหรัฐอเมริกา รวมกัน) มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก
สัญลักษณ์แทนดวงจันทร์คือ  ปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน นักบินอวกาศขององค์การนาซาเป็นมนุษย์ 2 คนแรกที่เหยียบลงบนพื้นดินของดวงจันทร์ กฎหมายอวกาศถือว่าดวงจันทร์เป็นสมบัติร่วมกันของมนุษยชาติ ตามสนธิสัญญาที่ใช้บังคับกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์ ดวงดาว และวัตถุอวกาศอื่นๆ ค.ศ. 1979